Tuesday, February 17, 2015

5 สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ยอดฮิตปี 2015

10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตปี 2015 เที่ยวเชียงใหม่ สัมผัสบรรยากาศกลิ่นอายเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมของ อาณาจักรล้านนา

 เที่ยวเชียงใหม่สำหรับ การมาเที่ยวเชียงใหม่ เชียงใหม่นั้นเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างเป็นอันดับต้นของประเทศไทย และมีธรรมชาติที่เป็นแอ่งภูเขา มีเทือกเขาถนนธงชัยเรียงขนานกับตัวจังหวัด และมีแม่น้ำตัดผ่านจังหวัด ทำให้บริเวณรอบตัวจังหวัดตามต่างอำเภอจะมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวเพราะมีรูปแบบการท่องเที่ยวได้หลาย แบบไม่ว่าจะเป็นการมาสัมผัสธรรมชาติต่าง ๆ สัมผัสกับวิถีชิวิต ผู้คน ประเพณี วัฒนธรรม หัตถกรรมพื้นบ้าน อาหารการกิน ของกินเชียงใหม่ แต่สิ่งที่เชียงใหม่ถือว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวมาก ๆ ก็คือสถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยวกับธรรมชาติ และกิจกรรมสำหรับการท่อง เที่ยวเชียงใหม่ นี้คือการไปนอนกางเต้นท์สัมผัสบรรยากาศเย็นชื่นใจสำหรับในหน้าหนาว เที่ยวเชียงใหม่ ก็จะมีหลาย ๆ ที่หลาย ๆ คน อาจไม่เคยไปสัมผัส

- ม่อนแจ่ม

ม่อนแจ่มตั้งอยู่ในอำเภอแม่ริม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียงแค่ 40 นาทีเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านม้ง หนองหอย อ.แม่ริม ม่อนแจ่ม มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีหมอกยามเช้า สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ โดยรอบ มองเห็นทิวเขาสลับกันไปไกลสุดลูกหูลูกตา อีกด้านก็จะเป็นไร่ปลูกพืชต่างๆของโครงการหลวง บนยอดม่อนแจ่มมีพื้นที่ ไม่มากนักสามารถเดินชมได้จนทั่วได้อย่างสบาย ม่อนแจ่ม”อยู่บนสันเขาบริเวณหมู่บ้านม้งหนองหอย เดิมที่บริเวณนี้ชาวบ้าน เรียกว่ากิ่วเสือเป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านเข้ามาแผ้วถางและปลูกผิ่น จนในท้ายที่สุดโครงการหลวงมาขอซื้อพื้นที่เข้า โครงการหลวงหนองหอย เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลวง คุณแจ่ม-แจ่มจรัส สุชีวะ หลานของ ม.จ. ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงบริเวณม่อนแจ่มให้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในลักษณะ ของแค้มปิ้งรีสอร์ท บน ม่อนแจ่ม สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก ด้านหนึ่งมองลงไปจะเห็นทิวทัศน์ทิวทัศน์ของ อ.แม่แตง และอ.แม่ริม เป็นอย่างดี ในวันที่ฟ้าเปิดเป็นใจมาก สามารถมองเห็นไกลถึงดอยหลวงเชียงดาวและขุนเขาเขตในจังหวัดเชียงรายเลยที เดียว แต่ที่พิเศษยิ่งกว่านั่นก็คือ ย่ำยามราตรีในคืนเดือนมืด เมื่อแหงนหน้ามองฟ้าที่นี่จะงดงามไปด้วยทะเลดาว เต็มฟาก ฟ้า ส่วนเมื่อก้ม มองลงไปยังเบื้องล่างจะเห็นแสงไฟที่ส่องสว่างจากทั้งสองอำเภอ

- ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่า ก่อน
สภาพอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
ดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมายเช่น สถานนีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, s,หมู่บ้านขอบดัง และ หมู่บ้านนอแล สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม ทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อยู่บนเทือกเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่า ก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้
 จึง มีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานนามว่า “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตั้งอยู่ในเขตบ้านคุ้มห มู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรประมาณ 1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่สถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด –3 องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี

- อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร
ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการ พลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำ ที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะ กรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป


ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดย ด่วน
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกื้ดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81 ของประเทศไทย

- ถนนคนเดินท่าแพ

ถนนคนเดินท่าแพ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อาทิตย์ เทศบาลเชียงใหม่ จะปิดถนนส่วนหนึ่งในเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านนำสินค้าหัตถกรรมมาวางขาย ถนนคนเดินที่นี่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจากทุกภาคและ ชาวต่างประเทศหลากหลายภาษาทั้งยุโรป เอเชีย ถนนคนเดินท่าแพ อยู่บริเวณประตูเมืองท่าแพต่อไปยังถนนราชดำเนิน เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 17.00 – 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของทานเล่น โรตี ฯลฯ หากมาเยือนในช่วงอากาศหนาว ๆ เดินเที่ยวกาดกลางคืน ถนนคนเดินเชียงใหม่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งที่นี่เป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่และได้รับความสนใจอย่างมาก จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ


- ถนนคนเดินวัวลาย

ถนนคนเดินวัวลาย ถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายเป็นเป็นถนนคนเดินยอดฮิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของคนเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมารเชียงใหม่หากไม่สามารถเดินถนนคนเดินท่าแพใน วันอาทิตย์ก็มักจะมาเดินที่ถนนคนเดินวัวลายนี้ ถนนคนเดินวัวลายจะเปิดเฉพาะคืนวันเสาร์โดยจะทำการปิดถนนวัวลายที่ อยู่ใกล้กับประตูเมืองเชียงใหม่ มีความยาวเป็นหลักกิโลทำให้กว่าจะเดินไปกลับครบก็เมื่อยพอดู ถึงกระนั้นก็ตามถนนคนเดินนี้ก็เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นเข้ามา จับจ่ายซื้อของกินรวมถึงซื้อของที่ระลึกต่างๆ ถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายมีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องเงินสลักลวดลายซึ่ง รู้จักกันดีในชื่อของ เครื่องเงินวัวลาย นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสได้เห็นการสลักเครื่องเงินกันแบบสดๆริมทาง ซึ่งเมื่อมองย้อนอดีตไปจากหลักฐานเครื่องเงินวัวลายเริ่มต้นจากการสืบทอดมา ตั้งแต่ครั้งที่เชียงใหม่ได้ขอเจรจาช่างฝีมือมาจากทางพุกาม ประเทศพม่า และมีการสืบทอดกันเรื่อยมา โดยเฉพาะเครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณวัดศรีสุพรรณ(วัด เงิน) เป็นช่างในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ในอดีต ในสมัยนั้นเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กประจำอยู่ที่บ้าน เรียกว่า “เตาเส่า” นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับของกินและของที่ระลึกต่างๆแล้ว ยังมีโอกาสได้เห็นการแสดงของศิลปินข้างถนนซึ่งส่วนมากจะเป็นการเล่นดนตรี ซึ่งมีทั้งดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีจากคนตาบอด รวมถึงศิลปินวัยรุ่นที่มาเล่นเพลงต่างๆ ยิ่งถ้าช่วงหน้าหนาวการมาเดินเล่นบนถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายจะได้บรรยากาศ เมืองเหนือมากยิ่งขึ้นไปอีก